Overview of Supply Chain Management
สำหรับภาคการผลิตนั้นการบริหารจัดการโซ่อุปทานนับว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะการบริหารจัดการที่ดีย่อมส่งผลให้การเคลื่อนไหวของสินค้าและบริการเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด ทำให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
การบริหารจัดการโซ่อุปทานที่ดีควรเริ่มจากกระบวนการภายในองค์กรของตนก่อน โดยมีเป้าหมายเพื่อผลิตสินค้าให้ได้ตามแผนที่วางไว้เป็นหลัก และสอดคล้องกับแผนส่งมอบวัตถุดิบจาก supplier ทำให้ส่งมอบสินค้าได้อย่างครบถ้วนทันเวลา
AMCO ERP มีเครื่องมือที่ช่วยในการบริหารจัดการและวางแผนการผลิตแบบ Just in Time (JIT) ที่ครอบคลุมตั้งแต่ ขั้นตอนการวางแผน การจัดหาวัตถุดิบ การควบคุมการผลิต การจัดส่ง และการส่งคืนสินค้า ตลอดจนการคิดค่าใช้จ่ายและต้นทุน เพื่อเพิ่มความมั่นใจในการส่งมอบสินค้าและบริการให้ถึงมือลูกค้าได้ทันตามเวลาที่ระบุไว้
Production Business Intelligence Dashboard
นอกเหนือจากนี้ AMCO ERP ยังมีเครื่องมือเพื่อขยายขีดความสามารถในการบริหารการผลิต เรียกว่า Production Business Intelligence Dashboard (PBID) ที่ทำให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการโรงงานทราบถึงภาพรวมและสถานะการดำเนินงานที่ครบทุกมุมมอง โดยนำไปวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตสินค้าและบริการของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

PBID Screen เปลี่ยนข้อมูลที่ซับซ้อนมาเป็นกราฟและตารางที่เข้าใจง่าย
มองเห็นถึงภาพรวมของกิจกรรมการผลิตรวมถึงความสัมพันธ์ทั้งหมดในมิติที่หลากหลาย และนำไปประกอบการตัดสินใจได้ทันที เช่น ข้อมูลขาย แผนการผลิตและกำลังการผลิต วัตถุดิบคงเหลือและแผนการจัดซื้อ รวมถึงข้อมูลค่าใช้จ่ายและ overhead ต่างๆ
ตอบสนองการตัดสินใจใด้อย่างทันท่วงที
รับทราบสถานะการดำเนินงานปัจจุบันและคาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้มองเห็นถึงสาเหตุและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เช่น ส่งมอบสินค้าล่าช้าเนื่องจากการมีผลิตมีความล่าช้าต่อเนื่องสะสม หรือการที่ผู้บริหารทราบได้ทันทีว่าสาเหตุดังกล่าวเกิดมาจากปัจจัยภายใน เช่น เครื่องจักรชำรุด หรือปัจจัยภายนอก เช่น วัตถุดิบที่ใช้มีคุณภาพต่ำหรือส่งมอบล่าช้า เป็นต้น
สนับสนุนการวางแผนหรือกำหนดนโยบาย
ช่วยให้ผู้บริหารมองสถานะการณ์ปัจจุบันในแต่ละส่วน และนำไปพยากรณ์แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ กำลังการผลิต งบประมาณ หรือปริมาณวัตถุดิบคงเหลือ
บริหารและควบคุมงบประมาณและค่าใช้จ่าย
รับทราบถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมการผลิตทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อควบคุมการผลิตสินค้าแต่ละชนิดไม่ให้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ และไม่ทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงเกินไป
วัดประสิทธิภาพในการผลิต
วัดประสิทธิภาพในการผลิตโดยรวมของเครื่องจักร (Overall Equipment Effectiveness : OEE) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลในการวัดผลกิจกรรมการผลิต ที่ทำให้ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมและนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการบริหารงานที่เหมาะสมต่อไป