Warehouse & Delivery

Warehouse and Distribution

Overview of Warehouse & Delivery

คลังสินค้า นอกจากมีหน้าที่เก็บวัตถุดิบ (Raw material) และสินค้าสำเร็จรูป (Finished goods) ก็ยังใช้เพื่อเก็บสินค้ากึ่งสำเร็จรูป ชิ้นส่วน หรือแม้กระทั่งงานระหว่างการผลิต (Work In Process) ซึ่งหากมีการจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพก็จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าหรือวัตถุดิบที่เก็บอยู่ภายในคลังสินค้าได้ ยิ่งไปกว่านั้นจะส่งผลต่อต้นทุน ที่ถูกสะท้อนไปที่กำไรของกิจการอย่างมากอีกด้วย

ดังนั้นเพื่อให้เกิดการจัดการที่มีประสิทธิภาพและเกิดความยืดหยุ่นและได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) จึงจำเป็นที่จะต้องเริ่มปรับปรุงการดำเนินงานของธุรกิจทุกภาคส่วนควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้ระบบ ERP โดยเพิ่มความแม่นยำของปริมาณสินค้าคงคลัง ลด lead time ในกระบวนการจัดซื้อ เพิ่มความรวดเร็ว ลดความผิดพลาดในกระบวนการจัดการภายในคลังสินค้า ลดต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการลูกค้าให้รวดเร็วเพื่อสนองตอบต่อความพึงพอใจของลูกค้าอีกด้วย

AMCO ERP เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงกับการซื้อ การขาย และกิจกรรมภายในคลังสินค้าทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การตรวจรับสินค้า การเคลื่อนย้ายภายในคลังสินค้า การจัดเก็บ การหยิบสินค้า และการตรวจนับ ทั้งยังเชื่อมต่อข้อมูลไปยังฝ่ายบัญชี ฝ่ายจัดซื้อ และฝ่ายขาย นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นที่จะตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจให้ขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพดังนี้

Automated Data Capture System

บันทึกข้อมูลอัตโนมัติด้วย Microsoft Dynamics NAV ทำให้เก็บข้อมูลได้อย่างถูกต้อง แม้ธุรกิจของคุณจะเป็นธุรกิจที่มีความถี่ของข้อมูลที่ต้องการบันทึกสูง ซึ่ง Server จะสนับสนุนกระบวนการปฏิบัติงานของ Warehouse Management Systems (WMS) โดยทำให้การทำงานในคลังสินค้าเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

Internal Picks and Put-Aways

Microsoft Dynamics NAV สามารถสร้าง pick และ put-away orders สำหรับการย้ายสินค้าภายในคลังได้โดยไม่ต้องใช้คำสั่งซื้อหรือคำสั่งขาย เพื่อใช้ในการที่หยิบสินค้าสำหรับการทดสอบ หรือ การเก็บสินค้าคงคลังที่ได้มาจากการสายการผลิต

Warehouse Management System (WMS)

การรับสินค้า (Receiving)การเก็บสินค้า (Put-away)
Microsoft Dynamics NAV จะเชื่อมโยงข้อมูลจากคำสั่งซื้อ (Purchase Order) คำสั่งย้ายสินค้าภายใน (Inbound transfer order) คำสั่งส่งคืนสินค้าจากการขาย (Sales return order) คำสั่งผลิต (Production order) และ คำสั่งประกอบ (Assembly order) เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่ที่ตรวจรับสินค้าทราบว่าสินค้าที่จะรับเข้าคลังฯนั้นเป็นสินค้าจากคำสั่งประเภทใด จำนวนเท่าไร ผู้ขายคือใคร ซึ่งมีรายละเอียดสามารถตรวจสอบวันเวลาการส่งมอบว่าตรงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง Lot No. เพื่อกำหนดวันหมดอายุ (Expiration Date) ของสินค้าได้อีกด้วย
เมื่อได้รับข้อมูลรายการสินค้าที่จะจัดเก็บแล้ว เจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถจัดสรรพื้นที่และช่องเก็บของ (Zone/Bin) ในการวางสินค้าได้ล่วงหน้า โดย Microsoft Dynamics NAV จะคำนวณ capacity ของคลังสินค้าและแนะนำพื้นที่และช่องเก็บที่เหมาะสม โดยสามารถกำหนดเงื่อนไขในการจัดเก็บได้ ถึงระดับ ชั้นเก็บของ (Rack) แถว (Column) ชั้นวาง (Shelves) เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเจ้าหน้าที่ยังสามารถ overwrite สถานที่จัดเก็บโดย manual ได้เช่นกัน
การหยิบสินค้า (Order picking)การตรวจสอบยอดสินค้า (Cycle count)
เมื่อคลังสินค้าได้รับคำสั่งขาย (Sales Order) และคำสั่งส่งคืนสินค้าจากการซื้อ (Purchase Return Order) เจ้าหน้าที่คลังสามารถหยิบสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบ Microsoft Dynamics NAV ซึ่งได้จัดตำแหน่งการวางสินค้าอย่างเป็นระบบเรียบร้อยแล้ว จะอำนวยความสะดวกรวดเร็วทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการหาตำแหน่งที่ใช้จัดเก็บสินค้า ซึ่งสามารถหยิบสินค้าจากชั้นเก็บของจากการอ้างอิงรูปแบบของ put-away template หรือจะหยิบสินค้าโดยอ้างอิงจาก zone และ bin ranking ได้ ยิ่งไปกว่านั้นระบบ Microsoft Dynamics NAV ยังรองรับการหยิบซึ่งใช้หลักการ FEFO หรือ First Expire date First Out โดยการหยิบ lot ที่น้อยกว่า หรือใกล้หมดอายุออกไปจากคลังสินค้าก่อนได้อีกด้วย
ผู้ใช้ในคลังสินค้าสามารถทำการตรวจนับสินค้าเฉพาะบางส่วนหรือตามที่ต้องการ ภายในช่วงเวลาที่กำหนดโดยอาศัยการประมวลผลจากฐานข้อมูลที่บันทึกโดย Microsoft Dynamics NAV แบบ Real time