IoT and Data analytics

IoT และ Data Analytics อนาคตอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย

ทำไมการทำ Data analytics บน IoT ถึงเป็นที่พูดถึงในวงการอุตสาหกรรม ถ้าคุณเป็นคนนึงที่กำลังมองหาคำตอบและโอกาสในคำถามนี้ ลองอ่านบทความนี้ได้เลย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เราอาจจะเห็นข่าวการปรับตัวในภาคอุตสาหกรรมทั้งในประเทศ และต่างประเทศกันมาบ้าง

จากการสำรวจผู้นำในวงการอุตสาหกรรมการผลิตจาก Deloitte แสดงแนวโน้มการนำเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ เข้ามาใช้อุตสาหกรรมในปี 2023 ซึ่งมีการนำเทคโนโลยี Robotics และ Automation เข้ามาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงการใช้เทคโนโลยีอย่าง IoT และ Data analytics ที่เราจะพูดถึงในบทความนี้ เพื่อช่วยในการปรับตัวและลดต้นทุนด้วยครับ

Note: อ่านบทความเกี่ยวกับการใช้ Big Data และ Data analytics เพิ่มเติมได้ที่นี่

การใช้ IoT และ Data analytics ในอุตสาหกรรมการผลิต

เป็นแนวคิดที่เมื่อนำมารวมกันมาใช้งานกับธุรกิจการผลิตต่าง ๆ (Manufacturing Industry) จะทำให้เราสามารถตรวจสอบการทำงาน (Monitoring) แบบเรียลไทม์ (Real-time) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และยังสามารถทำระบบอัตโนมัติ (Automation) การผลิตในแต่ละขั้นตอนต่าง ๆ หรือแต่ละช่วงเวลาต่าง ๆ

อุปกรณ์ IoT ที่ฝังตัวอยู่บนเครื่องจักรซึ่งมีความสามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่ดึงและส่งข้อมูลการผลิตไปยังศูนย์กลางการเก็บข้อมูล (Centralized) และนำข้อมูลเหล่านั้นไปวิเคราะห์ แสดงผลออกในรูปแบบต่างๆที่ช่วยให้ผู้ใช้งานนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนการผลิต หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนการทำงานต่างๆ

ขั้นตอนการผลิตสินค้าในปัจจุบัน อุปกรณ์ IoT ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องจักรในไลน์การผลิต เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยบันทึก, รับ-ส่งข้อมูลการผลิตโดยใช้เซ็นเซอร์ต่างๆที่ติดตั้งตามโรงงาน อ่านข้อมูลขณะที่เครื่องจักรกำลังเดินเครื่องอยู่ ไม่ว่าจะเป็น แรงดัน อุณหภูมิ ความเร็ว และข้อมูลอื่นๆ ที่อยู่ในเครื่องจักร ข้อมูลเหล่านี้ สามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบข้อผิดพลาด หรือสิ่งผิดปกติ

ภาคอุตสาหกรรม สามารถลดต้นทุนผลิตได้ถูกลงจากการปรับปรุงโครงสร้างต้นทุน (แม้จะต้องลงทุนในช่วงแรกของการติดตั้งระบบก็ตาม) แต่ในภาพระยะยาวแล้วถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับองค์กรที่มีแผนขยายตลาดในอนาคตนั่นเอง

จากข้อมูลของ Frost & Sullivan ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำการวิจัยและกลยุทธ์การตลาดในหลายอุตสาหกรรม ได้ทำแบบสำรวจร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) วิเคราะห์แนวโน้มเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital Technology) ในประเทศไทยจนถึงปี 2035

industry4.0-IoT

สรุปใจความสำคัญที่กล่าวถึงในประเทศไทยได้ว่า IoT เป็นเทคโนโลยีที่จะมาขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงดังวิสัยทัศน์ Digital Thailand 4.0 ซึ่งจะทำให้เราสามารถเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ได้ทั่วทั้งประเทศ ตั้งแต่อุตสาหกรรมผู้ผลิต ไปจนถึงผู้บริโภคปลายทาง (ซึ่งทุกวันนี้คุณคงทราบอยู่แล้ว ว่าเราสามารถเชื่อมต่อกันผ่านอุปกรณ์ IoT อย่างโทรศัพท์มือถือ ได้ง่ายขนาดไหน)

เพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขัน ทำนายอนาคตด้วย Data Analytics

Predictive-analytics

Data analytics  มีบทบาทสำคัญต่อการรับข้อมูลเชิงลึกจากอุปกรณ์ IoT ภายในโรงงาน ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นมาจากต้นทางที่หลายหลายแหล่งที่มา โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาแสดงผลออกทางแผนภูมิได้หลากหลายรูปแบบเพื่อช่วยเพิ่มมุมมองในการปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริการ

หากข้อมูลของคุณมีความพร้อมเราสามารถใช้การทำนายช่วงเวลา แนวโน้วการผลิตสินค้า ความต้องการของผู้บริโภค ช่วงเวลาในการซ่อมบำรุงหรือช่วงเวลาดูแลรักษาเครื่องจักร ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถแนะนำการพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพ และ โอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจได้อีกด้วย

หรือเรียกอีกอย่างว่า คาดการณ์ด้วยข้อมูลที่มี (Predictive analytics)

จาก สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ MIT Center for Transportation & Logistics: MIT CTL  ได้ทำรายงานเกี่ยวกับการใช้ Predictive analytics ในการคาดการณ์เวลาขนถ่ายของคู้คอนเทนเนอร์ที่มีมีความแม่นยำมากถึง 83% ทำให้สามารถวิเคราะห์คาดการณ์ และบริหารจัดการคำสั่งซื้อ (Order) ให้ทันเวลา ลดความเสี่ยงที่เกิดจากการขนส่งล่าช้า เช่น วันหยุด ได้มากขึ้น

ตัวอย่างอื่น ๆ เช่น แนวโน้วการผลิตสินค้า ความต้องการของผู้บริโภค ช่วงเวลาในการซ่อมบำรุงหรือช่วงเวลาดูแลรักษาเครื่องจักร และพัฒนาการผลิตให้มีประสิทธิภาพ สำหรับโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ

ทำให้เห็นว่าการใช้ข้อมูลดังกล่าว สามารถปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มประสิทธิภาพจากเดิมได้ เพียงแค่คุณรู้วิธีจัดการกับข้อมูล คุณก็จะสามารถมองหาช่องทางใหม่ ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพทางการแข่งขันได้ ด้วยข้อมูลในมือเหล่านั้น

กำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรม

โดยรวมแล้ว IoT และ Data analytics เป็นกำลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรมในยุคใหม่ ที่มีความอัจฉริยะ (Smart) ซึ่งเครื่องจักร กระบวนการผลิต รวมถึงนักงานในโรงงาน สามารถเชื่อมต่อถึงกัน และนำข้อมูลทั้งหมดนี้มาอ้างอิงช่วยให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุงและมีนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาในอนาคตนั่นเองครับ

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เห็นความสำคัญในการใช้ประโยชน์และต้องการบริหารข้อมูลดังกล่าวในมือ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

AMCO มีประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตจากผู้เชี่ยวชาญมากมายที่อยากแชร์กับคุณ ยกตัวอย่างลูกค้าของเรา บริษัทผลิตรถยนต์ และยางรถยนต์ทุกประเภทแห่งหนึ่ง ที่มียอดขายติดอันดับ โลก เราให้บริการด้าน Data analytics, Work flow process Application solution, Data Visualization (Power BI) และ ERP Solution จาก Microsoft

หากต้องการที่ปรึกษา ทีมผู้เชี่ยวชาญของคุณอยู่ตรงนี้แล้ว ติดต่อหาเราหรือโทร 036-343-052

Posted in Business Solutions, Data Platform and tagged , , .